

รายวิชาภาษาไทย ๕
รหัสวิชา ท ๒๓๑๐๑
นายนครินทร์ ขืนรัมย์
ใบความรู้เรื่อง คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
คำยืมจากภาษาเขมร
เขมรเป็นชาติที่มีความสัมพันธ์มานานทั้ง ทางการค้า การสงคราม การเมืองและวัฒนธรรม เขมรมีอิทธิพลเหนือดินแดนสุวรรณภูมิก่อนกรุงสุโขทัยหลายร้อยปีจากการมีอาณาเขตติดต่อกัน ทําให้ภาษาเขมรเข้ามาปะปนกับภาษาไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ภาษาถิ่นเขมรก็คล้ายคลึงกับภาษาพูดของชาวอีสานใต้ของไทย
ลักษณะคำเขมรในภาษาไทย
๑. คําที่มาจากภาษาเขมรส่วนมากมาจากสะกดด้วย จ ญ ร ล เช่น เผด็จ ,บําเพ็ญ,กําธร,ถกล ตรัส
๒. ต้องแปลความหมายจึงจะเข้าใจ ใช้มากในบทร้อยกรอง
๓. เมื่อมาใช้ในภาษาไทย ข แผลงกระ เช่น ข จาย-กระจาย,ขโดง -กระโดง
๔. นิยมใช้อักษรนําแบบออกเสียงตัวนําโดยพยางค์ต้นออกเสียง อะ กึ่งเสียง พยางค์หลังออกเสียงตามสระ
ที่ผสมอยู่ เช่น สนุก ,สนาน, เสด็จ ถนน,เฉลียว
๕. คําเขมรส่วนมากใช้เป็นราชาศัพท์ เ ช่น เสวย,บรรทม,เสด็จ,โปรด
ตัวอย่างคำยืมจากภาษาเขมรที่ใช้บ่อย
กฎ กรง(กฺรง) กรม(กฺรม) กรรไตร กรวด(กฺรวด)
กระ กระฉูด กระชับ กระชับ กระเชอ
กระเดียด กระโดง กระโถน กระทรวง(กระ-ซวง) กระท่อม
กระบอง กระบือ กระเพาะ กระแส กังวล
กําจัด กําเดา กําธร กําแพง ขจร(ขะจอน)
คำยืมจากภาษาจีน
ไทยและจีนเป็นมิตรประเทศที่ติดต่อเจริญสัมพันธไมตรีอีกทั้งยังมีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า และวัฒนธรรมอันดีงามกันมาช้านานรวมทั้งศิลปะ สถาปัตยกรรมต่างๆ ด้วย ชาวจีนที่เข้ามาค้าขายตลอดจนตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยเป็นจํานวนมาก ปัจจุบันคนไทยเชื้อสายจีนก็เพิ่มพูนขึ้นมากมาย ภาษาจีนจึงเข้ามาสู่ไทยโดยทางเชื้อสาย นอกจากนี้ภาษาจีนและภาษาไทยยังมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันจึงทําให้คําภาษาจีนเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยจนแทบแยกกันไม่ออก
ลักษณะคำภาษาจีน
ภาษาจีนมีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาไทยมาก คือเป็นภาษาคําโดดและมีเสียงวรรณยุกต์ใช้ เช่นเดียวกัน เมื่อนําคําภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยซึ่งมีวรรณยุกต์และสระประสมใช้จึงทําให้สามารถออกเสียงวรรณยุกต์และสระตามภาษาจีนได้อย่างง่ายดาย คําภาษาจีนยังมีคําที่บอกเพศในตัวเช่นเดียวกับภาษาไทยอีกด้วย เช่น เฮีย(พี่ชาย), ซ้อ(พี่สะใภ้), เจ๊(พี่สาว), นอกจากนี้การสะกดคําภาษาจีนในภาษาไทยยังใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดทั้ง ๘ มาตรา
ตัวอย่างคำยืมจากภาษาจีน
ก๊ก = พวก หมู่ เหล่า ประเทศ
กงไฉ่= ผักกาดเค็มชนิดหนึ่งของจีน
กงเต๊ก= การทำบุญให้แก่ผู้ตายตามพิธีของนักบวชในพุทธศาสนาแห่งนิกายจีน และญวน
กงสี= ของกลาง ของที่ใช้รวมกันสำหรับคนหมู่หนึ่งๆ หุ้นส่วน บริษัท บริษัททำการค้า
กวยจั๊บ = ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งที่ใช้ทำเส้นก๋วยเตี๋ยว แต่หั่นเป็นชิ้นใหญ่ๆ
กังฉิน = ทรยศ คดโกง อำมาตย์ทรยศ
กุยช่าย = ชื่อขนมชนิดหนึ่ง
กุยเฮง = เสื้อนอกแบบจีน
เก๊ก = ขับไล่
เกาลัด = เมล็ดผลไม้ชนิดหนึ่ง
เกาเหลา = แกงมีลักษณะอย่างแกงจืด
เกาเหลียง = ชื่อเหล้าจีนชนิดหนึ่ง
เกี้ยมอี๋ = ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง คู่กับก๋วยเตี๋ยวทำด้วยแป้งข้าวเจ้า
โก๋ = ชื่อขนมอย่างหนึ่งของจีน
ขาก๊วย= กางเกงจีนขาสั้น
ขึ้นฉ่าย= ผักชนิดหนึ่งรสฉุน
จับกัง = งานกุลี คนทำงานกุลี
จับเจี๋ยว = หม้อดินเล็กๆ มีพวย สำหรับต้มน้ำ
จับฉ่าย = ชื่อแกงจีนที่ใส่ผักหลายอย่างของต่างๆ ที่ปะปนกันไปไม่เป็นสำหรับ ไม่เป็นชุด
จับยี่กี = การเล่นพนันชนิดหนึ่งของจีน
เจี๋ยน = ชื่อกับข้าวชนิดหนึ่ง มีปลาทอด ทอดแล้วปรุงด้วยเครื่องต่างๆ
จีนเต็ง= หัวหน้าคนงานที่เป็นคนจีน
จีนแส= หมอ ครู
เฉาก๊วย= ชื่อขนมชนิดหนึ่ง
เซ้ง = รับช่วงโดยเสียเงินให้เพื่อถือสิทธิในโรงร้าน เป็นต้น
เซียน = ผู้วิเศษ ผู้สำเร็จ
คำยืมจากภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่แพร่หลาย สามารถใช้สื่อสารได้ทั่วโลก การที่ไทยติดต่อค้าขายกับอังกฤษมาช้านาน
จนสมัย ร.๓ ไทยเริ่มมีการยืมคําจากภาษาอังกฤษมาใช้ในลักษณะการออกเสียงแบบไทยๆ ตลอดจนเจ้านายและข้าราชการที่ได้
ศึกษาภาษาอังกฤษและมิชชันนารีก็เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ทําให้ภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาทในภาษาไทยมากขึ้น ร.๔ ทรงเห็นประโยชน์ของการศึกษาภาษาอังกฤษมากด้วย
ตัวอย่างคำภาษาอังกฤษ
คำศัพท์
๑. กงสุล
consul = เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์และคนในสังคมในต่างประเทศ
๒. รอส
gross = จำนวนนับเท่ากับ ๑๒ โหล
๓. กรัม
gramme = หน่วยวัดน้ำหนักระบบเมตริก
๔. กราฟ
graph = แผนภูมิที่ใช้เส้น, จุดหรือภาพเพื่อแสดงความเปลี่ยนแปลงหรือเปรียบเทียบ๕.
๕.กลูโคส
glucose = น้ำตาลชนิดหนึ่ง
๖.ก๊อก
cock =เครื่องปิดเปิดน้ำจากท่อหรือภาชนะ
๗.ก๊อซ
gauze = ผ้าโปร่งบางใช้พันแผล
๘. ก๊อบปี้
copy = กระดาษที่ใช้ทำสำเนา, การทำซ้ำ
๙.กัปตัน
captain = นายเรือ
๑๐. ก๊าซ,แก๊ส
gas = อากาศธาตุ
๑๑. การ์ตูน
gartoon = ภาพล้อ, ภาพตลก
๑๒. เกม
game =การแข่งขั๑
๑๓.เกาต์
gout =ชื่อโรคชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเพราะมีกรดยูริกในเลือดมากเกินไป
๑๔.เกีย, เกียร์
gear = ส่วนหนึ่งของรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ ทำหน้าที่ทดรอบ
๑๕. แก๊ง
gang = กลุ่มที่ตั้งขึ้นเป็นก๊กเป็นเหล่า (มักใช้ในความหมายที่ไม่ดี)